|
Figure 1 What is Computer Network เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร |
|
Figure 2 Computer Network classified by Area Width เครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำแนกตามขนาดของพิ้นที่ |
|
Figure 3 Types of Network Topology รูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่าย |
|
Figure 4 Star/Extended Star Topology รูปแบบการเชื่มต่อแบบสตาร์ และแบบสตาร์หลายๆ กลุ่ม |
|
Figure 5 The Client-Server Network What/How เครือข่ายแบบ แม่ข่าย-ลูกข่าย |
:: :: ::
What/How of the Network in Comp102 Classroom?
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนคอมพ์102 เป็นแบบไหน/อย่างไร
Because the operating software (OS) of all computers in classroom-102 is Windows7, so any students who use them, those machines, should better understand how they work, especially how to use the network of them.
เพราะซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (โอเอส) ของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในห้องเรียน 102 คือ Windows7 ดังนั้นนักเรียนก็น่าจะต้องรู้ว่า มันมีวิธีการทำงานอย่างไร โดยเฉพาะระบบเครือข่าย
Our computers in comp102 classroom are connected together with the UTP (unshielded twisted pair) cables. Why? Because the unshielded cables are lower cost than the shielded cables which have been used in the signal noisy areas e.g. airports, factories, etc. The style of their connection is "Star Topology" which each machine has its own cable which connects directly to the hub/switch. A hub/switch is the center point of cables (both devices are similar to each other but a switch is more clever than a hub) . Well our network is called Local Area Network (LAN). Any LAN must has its workgroup name which required by the Operating System (OS) of each computer, Windows7 . But the administrator(the teacher) of this LAN named it "comp2" workgroup.
เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน 102 เชื่อมต่อด้วยสายเครือข่ายแบบ สายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน หรือสายยูทีพี ทำไมต้องเป็นสายแบบนี้? เพราะราคาสายแบบนี้มันถูกกว่า สายเคเบิลแบบหุ้มฉนวน ที่ใช้กันในพื้นที่ที่มีการรบกวนสัญญาณมาก เช่น โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ฯลฯ และการที่ต้องบิดเป็นเกลียวก็เพื่อให้ป้องกันการรบกวนสัญญาณนั่นเอง ซึ่งรูปแบบหรือโทโพโลยีของการต่อระบบแลน จะเป็นแบบสตาร์โทโพโลยี นั่นคือเครื่องทุกเครื่องก็จะมีสายเคเบิลเป็นของตนเองไปโยงกับฮับ/สวิตช์ ที่ถือว่าเป็นจุดรวมศูนย์ของสายเคเบิลนั่นเอง (ทั้งสองอุปกรณ์ทำหน้าที่เหมือนกัน แต่สวิตช์จะมีความสามารถในการจัดการมากกว่า เช่น สายใดที่ไม่มีการเชื่อมต่อ สวิตช์มันก็จะตัดออกจากระบบ เป็นต้น) ระบบเครือข่ายของเราเรียกว่า แลน โดยแลนแต่ละวงจะต้องมีการกำหนดชื่อ เวิร์กกรุ๊ป ซึ่งของห้องเรียน 102 ครูผู้สอนกำหนดชื่อว่า comp2
|
The Teacher Teaches About Programming Using C-Language in Comp102 Classroom ครูผู้สอน ขณะกำลังสอนเกี่ยวกับการโปรแกรมด้วยภาษาซี ณ ห้องเรียนคอมพ์102 |
:: :: ::
If we consider only the "comp2-workgroup LAN", it is a peer-to-peer network that every machine is independent from each other but shares its files/folders/printers to its peers. On the other hand, when this workgroup connects to the server computer of "the School Media Center", it must be a client-server network.
ถ้าพิจารณาเฉพาะเครือข่ายห้องเรียนคอมพ์102 มันจัดว่าเป็น เครือข่ายแบบ-เพื่อน-ถึง-เพื่อน หรือ peer-to-peer นั่นหมายถึงว่า คอมพิวเตอร์แต่ละเครืองในวงแลนจะเป็นอิสระจากกันและกัน เพียงแต่มาร่วมกลุ่มกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกันในหมู่เพื่อนแค่นั้น ในอีกทางหนึ่ง หากนำเอาวงแลนนี้ไปต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือ server computer ที่อยู่ในห้องศูนย์สื่อ ของโรงเรียน เครือข่ายก็จะกลายเป็นแบบ "แม่ข่าย-ลูกข่าย" หรือServer-Client Network
What is about the client-server network? It means that the server computer of "the Media Center" is the manager/boss of other computers which are only the clients. The server computer has been installed with the operating-software-for-server such as Windows2003server/Windows2008server , Linux or Unix, which can manage the client computers of the network. The clients have to obey the server because the latter has the power to control/ban the former. Yes, the clients can never control/manage the server. เครือข่ายแบบ Server-Client Network เป็นแบบใด? ก็หมายความว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ของศูนย์สื่อคือ ผู้จัดการ/นาย ของเครื่องอืนๆ ที่มีสถานะเป็นแค่ลูกน้อง หรือClient แค่นั้น การที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์สามารถบริหารจัดการเครืองลูกข่ายของมันได้นั้น เพราะมันได้ติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการแบบแม่ข่ายเอาไว้นั่นเอง อาทิ Windows2003server/Windows2008server , Linux หรือ Unix ซึ่งเครื่องลูกข่ายจะต้องยอมให้ตนเองถูกจัดการได้ เพราะซอฟต์แวร์ระบบของเครื่องแม่ข่ายสามารถควบคุม/สั่งแบน เครื่องอื่นๆ ได้ ในขณะที่เครื่องอื่นๆ ไม่สามารถบริหารจัดการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้นั่นเอง
Every machine in the network is required to have its unique "hostname" and "IP address". Only the server computer has the "static IP-address" while the IP addresses of the client computers are "dynamic" specified/controlled by the sever. If the user of any client computer specify the static IP address himself, the server computer can never share the Internet connection because the "IP address conflict" problem could be occurred easily. Then the alien client will be kicked off /faded away from the network simultaneously. Yes, the server computer is the "Internet gateway" of the network.
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมีชื่อเฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำใคร เรียกว่า Hostname และต้องมีรหัสหมายเลขเครื่องกำกับไว้ เรียกว่า IP-address และในเครือข่ายแลนก็จะมีแค่เพียงเครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์เท้านั้น ที่มีรหัสไอพีแอสเดรสแบบคงที่ เรียกว่ามี static IP-address ขณะที่ไอพีแอสเดรสของคอมพิวเตอร์ลูกข่ายทั้งหลาย จะไม่คงที่ หรือDynamic ส่วนจะเป็นรหัสไอพีอะไรนั้น เครื่องเซิรฟเวอร์จะเป็นตัวจัดการให้เอง โดยยึดหลัก FIFO (First In, First Out) ก็หมายความว่า เครื่องลูกข่ายตัวไหนเชื่อมต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ก่อนก็จะๆด้รับการจ่ายรหัสไอพีให้ก่อน-หลัง ตามลำดับไป แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายตัวไหนไปดำเนินการกำหนดรหัสไอพีแอสเดรสของตัวเองเป็นแบบคงที่ละก็ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ก็จะถูกเครื่องเซิร์ฟเวอร์เฉดหัวออกไปจากระบบ มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหารหัสไอพีชนกันได้ในระบบ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในฐานะเกตเวย์หรือทางออกสู่อินเทอร์เน็ตของระบบ ก็จะไม่ยอมแบ่งปันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้กับเครื่องนั้นๆ
OK., after selecting the "Local Area Network" option, the "Local Area Network Connection Status" window appears. You can see its speed of packets transmission (100 Mbps) , bytes of the sent/received packets.
หลังจากที่นักเรียนเลือก "Local Area Network" หน้าต่างที่ชื่อ "Local Area Network Connection Status" ก็จะโผล่หน้ามาให้ยล ตรงนี้แหละนักเรียนก็จะเห็นได้ว่า ความเร็วของเครือข่ายเราขนาดไหนในการส่งแพ็คเก็ตส์ (จำนวนบิตของข้อมูลในหน่วยวินาที) ความเร็วระดับมดวิ่งนั่นแหละ แค่สัก 100 ล้านบิตต่อวินาที อย่าลืมว่า ตั้ง 8 บิต จึงจะได้ไบต์
Then, when you click on the "Properties" button, another window shows. To find and select the "Internet Protocol Version) option, you can see its IPaddress has been obtained automatically by the gateway/server computer (of the School Media Center).
ต่อจากนั้นเราก็คลิกปุ่ม properties เราจะพบว่า เครื่องลูกข่ายที่เราใช้อยู่ จะถูกจ่ายรหัสไอพีให้แบบอัตโนมัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว (ถ้าจะปรับเป็นรหัสคงที่ก็ต้องมาปรับตรงนี้) แต่ปกติจะตั้งไว้ตามรูปนั่นแหละ
:: :: ::
Another one I would like to refer to is "protocol". What is it? A protocol (www.wikipedia.org) is a system of digital message formats and rules for exchanging those messages in or between computing systems and in telecommunications. And in our network we use the TCP/IP (comes from "Transmission Control Protocol and Internet Protocol). Now Thailand uses IPv4 protocol, but Thai government by Prime Minister Yingluck Shinawatra is going to change the Internet protocol of the country with another version, IPv6 protocol, which has more capacity and efficiency of transmission.
โปรโตคอลคืออะไร
ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk
โปรโตคอล IPX/SPX
ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Novell ซึ่งทำการพัฒนามาจากตัวโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation ซึ่งโครงสร้างเมื่อทำการเปรียบเทียบ
กับ OSI Model ดังรูป
ตัวโปรโตคอล IPX/SPXแบ่งออกเป็น 2 โปรโตคอลหลักคือ Internetwork Packet Exchange ( IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอล IPX ทำหน้าที่ในระดับ network layer ตามาตรฐาน OSI Model มีกลไกการส่งผ่านข้อมูลแบบ connectionless,unrerelibleหมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อมูล โดยไม่ต้องทำการสถาปนาการเชื่อมต่อกันระหว่าง host กับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวร ( host , เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการใดๆในเครือข่าย ) และไม่ต้องการรอสัญญานยืนยันการรับข้อมูลจากปลายทาง โดยตัวโปรโตคอลจะพยายามส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทางให้ดีที่สุด สำหรับโปรโตคอล SPX ทำหน้าที่ในระดับ transport layer ตามมาตรฐาน OSI Model โดยส่งผ่านข้อมูลตรงข้ามกับโปรโตคอล IPXคือ ต้องมีการทำการสถาปนาการเชื่อมโยงกันก่อนและมีการส่งผ่านข้อมูลที่เชื่อถือได้ ด้วยการตรวจสอบสัญญาณยืนยันการรับส่งข้อมูลจากปลายทาง
โปรโตคอล NetBEUI
โปรโตคอล NetBEUI หรือ NetBIOS Enhanced User Interface นั้น เป็นโปรโตคอลที่ไม่มี ส่วนในการระบุเส้นทางส่งผ่านข้อมูล (Non-routable Protocol)โดยจะใช้วิธีการ Broadcast ข้อมูลออกไปในเครือข่าย และหากใครเป็นผู้รับที่ถูกต้องก็จะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผล ข้อจำกัดของโปรโตคอลประเภทนี้ก็คือไม่สามารถทำการ Broadcast ข้อมูลข้ามไปยัง Physical Segment อื่นๆที่ไม่ใช่ Segment เดียวกันได้ เป็นการแบ่งส่วนของเครือข่ายออกจากกันทางกายภาพ หากต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายถึงกันจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างเช่น Router มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่าย
เนื่องมาจากอุปกรณ์บางอย่างเช่น Router ไม่สามารถจะ Broadcast ข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆได้ เพราะถ้าหากยอมให้ทำเช่นนั้นได้ จะทำให้การสื่อสารระหว่างเครือข่ายคับคั่งไปด้วยข้อมูลที่เกิดจากการ Broadcast จนเครือข่ายต่างๆไม่สามารถที่จะสื่อสารกันต่อไปได้ โปรโตคอล NetBEUI จึงเหมาะที่จะใช้งานบนเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 50 เครื่องเท่านั้น NetBEUI เป็นหนึ่งในสองทางเลือกสำหรับผู้ใช้งาน NetBIOS ( Network Basic Input Output System ) ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนโปรโตคอล TCP/IP และ NetBUEI
โปรโตคอล AppleTalk
จุดเริ่มต้นของโปรโตคอล AppleTalk เกิดขึ้นในปีค.ศ.1983 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัท Apple Computer ต้องการออกแบบชุดโปรโตคอลสื่อสารข้อมูลของตนเองขึ้น เพื่อใช้เชื่อมโยงเครือข่ายของเครื่องแบบแมคอินทอช และสามารแชร์กับอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังขยายไปสู่การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์,เครื่องพิมพ์, Gateway และ Router ของผู้ผลิตรายอื่นๆด้วยต่อจากนั้นเครื่องแมคอินทอชและอุปกรณ์ต่างๆที่บริษัทผลิตออกมาก็ได้มีการเพิ่มส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้สามารถรองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้ รวมถึงระบบปฏิบัติการ MacOS รุ่นใหม่ๆก็ได้มีการผนวกฟังก์ชั่นให้รองรับโปรโตคอลตัวนี้ได้เช่นกัน ทำให้กลุ่มผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชสามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายได้ง่ายโดยไม่ต้องไปหาซื้อ อุปกรณ์เพิ่มเติมอีก
โปรโตคอล Apple Talk ถูกออกแบบมาให้ทำงานเป็นเครือข่ายในแบบ peer-to-peer ซึ่งถือว่าเครื่องทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถเป็นเซิร์ฟเวอร์ได้ทุกเครื่องโดยไมต้องจัดให้บางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการโดยเฉพาะขึ้นมา ต่อมาปีค.ศ. 1989 ได้มีการพัฒนาโปรโตคอล AppleTalk ให้สนับสนุนเครือข่ายที่ใหญ่มากขึ้นได้ สามารถมีเครื่องลูกข่ายและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้มากกว่าเดิมเรียกว่าเป็นโปรโตคอล Apple Talk Phase 2 นอกจากนี้ยังเพิ่มโปรโตคอลที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ Ethernet และ Token Ring ได้ โดยเรียกว่า EtherTalk และ TokenTalk ตามลำดับ
โปรโตคอลTCP/IP ( RFC1180 )
โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอล หลายตัวที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งานโดยมีคำเต็มว่าTransmission Control Protocol /Internet Protocol ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP
ตัวอย่างของกลุ่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อยๆ ( ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้งานโดยตรง แต่จะใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆหรือทำงานโดยอ้อม เช่น Internet Protocol,Address Resolution Protocol(ARP) ,Internet Control Message Protocol (ICMP) ,User Datagram Protocol (UDP) ,Transprot Control Protocol (TCP) และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)
โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเทอร์เนทคือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจากเมื่อโปรโตคอลอื่นๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเทอร์เนทนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง ผ่าน Gateway หรือ
Router เพื่อนำข้อมูลไปยังเครือข่ายและเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทางจะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้นและด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถในการระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้(Routable)
การที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถสื่อสารกันได้จำต้องมีการระบุแอดเดรสที่ไม่ซ้ำกัน เพราะไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ส่งอาจจะไม่ถึงปลายทางได้ ซึ่งแอดเดรสจะมีข้อกำหนดมาตรฐาน ซึ่งในการใช้งานโปรโตคอล TCP/IP ที่เชื่อมโยงเครือข่ายนี้ จะเรียกว่า IP Address ( Internet Protocol Address )และ ตอนนี้รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็กำลังปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลของประเทศเรา ที่ขณะนี้เป็นเวอร์ชัน 4 ให้เป็นเวอร์ชั่น 6 เพื่อรองรับปริมาณของเครือข่าย และประสิทธิภาพที่ขยายเพิ่มขึ้น
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น